๑. คำคล้าย
คำคล้ายในที่นี้หมายถึง
คำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกันหรือใกล้เคียงกัน
คำเหล่านี้เรียนว่า คำไวพจน์ ซึ่งพจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า
“เป็นคำที่มีรูปต่างกัน แต่มีความหมายคล้ายคลึงกัน” ดังตัวอย่าง
คำ ไวพจน์
ใจ กมล จิต
จิตใจ มโน หทัย
หฤทัย
ช้าง กรี กุญชร
คช คชสาร นาค
หัตถี ไอยรา
หญิง กัญญา กัลยา
นงคราญ นงเยาว์ นารี
สุดา สตรี
ตาย ตักษัย บรรลัย
มรณะ มตะ ม้วยมอด
อาสัญ
ทอง กาญจน์ ชมพูนุท
ตปนียะ สุพรรณ สุวรรณ
เหม
น้ำ ชล ชลธาร
ธารา สินธุ อาโป
อุทก
แผ่นดิน ธรณี ธราดล
ปถพี ภูมิ พสุธา
รบ ประจัญบาน พันตู
ยงยุทธ์ รณรงค์ ราญรอน
๒.
คำง่าย
คำง่ายคือคำที่มีรูปลักษณ์เรียบง่าย
เช่น เป็นคำมูลพยางค์เดียว หรือ ๒ พยางค์ หรือคำประสม คำซ้อน
ที่เข้าใจความหมายทันที ไม่ซับซ้อน ส่วนมากคำไทยที่มีมาแต่เดิมเป็นคำง่าย เช่น
คำในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีคำต่อไปนี้ พ่อ แม่ ชื่อ นาง พี่ น้อง ท้อง นา
ข้าว ปลา น้ำ ช้าง ลู่ ทาง ใน หลวง ทะเล ตะวันออก เดือนดับ ฯลฯ
นอกจากคำในศิลาจารึกแล้ว
คำที่ใช้ในสำนวนไทยประเภทที่ซ้อนกัน ๔ คำบ้าง ๖ คำบ้าง
ทั้งที่มีเสียงสัมผัสและไม่มีเสียงสัมผัส ส่วนมากมักเป็นคำง่าย
สื่อความหมายได้แจ่มแจ้ง ดังตัวอย่าง
กรรมก่อทำเข็ญ ขวัญหนีดีฟ่อ
คอขาดบาดตาย ง่อยเปลี้ยเสียขา
เจ็บท้องข้องใจ ฉูดฉาดบาดตา
ชั่วดีถี่ห่าง ซักไซ้ไล่เลียง
คนจรนอนหมอนหมิ่น ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
ไท้ต่างด้าวท้าวต่างแดน ติดสินบน คาดสินบน
ยุให้รำ ตำให้รั่ว กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง
คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น
ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง เรือล่มเมื่อจอดตาบอดเมื่อแก่
ขึ้นเหนือล่องใต้ หัวหกก้นขวิด
เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง กระดูกแขวนคอ
อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน
จะจนใจเอง เป็นต้น
๓.
คำยาก
คำยากหมายถึงคำที่มีรูปลักษณ์ค่อนข้างซับซ้อน
เช่น เป็นคำยาวหลายคำ เป็นคำสมาส หรือคำสมาสที่มีสระสนธิ
เป็นคำยืมจากภาษาต่างประเทศ เป็นศัพท์บัญญัติทางวิชาการ คำเหล่านี้ล้วนเป็นคำยากที่ต้องแปล
และอธิบายความหมายให้เป็นที่เข้าใจ ดังจะเห็นได้จากคำศัพท์ในวรรณคดี
ในแบบเรียนสมัยโบราณ ในพระธรรมเทศนา และในบทความทางวิชาการ
การที่จะหลากคำในวรรณคดีที่มีคำยาก
จำเป็นต้องใช้ความสามารถชั้นสูง และจะต้องใช้คำง่าย มาช่วยทำให้ความหมายของคำยากปรากฏแจ่มชัดขึ้น
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
จากแบบเรียนสมัยโบราณและวรรณคดีสำคัญ
จากจินดามณี
ของพระโหราธิบดี
ร่ายไหว้พระรัตนตรัย
ศรีสิทธิวิวิธบวร กรประณต ทศนขประณม
บรมไตรโลกโมลี ศรีบรมไตรรัตน ชคัตโลกาจารย์
นบนมัสการ พระสุรัสวดี คำภีรญาณพันลึก
อธิกโชติปัญญา ข้อยข้าขอเขียนอาธิ อักษรปราชญ์แต่งไว้...
ข้อสังเกต คำที่พิมพ์ตัวเอนเป็นคำสมาสที่มีหลายพยางค์
จึงจัดเป็นคำยาก
จากปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาควัดท่าทราย
๏ ปางปิ่นธเรศตรี- ศรเสวยสวรรยา
อยุธยายศมหา นครราชธานี
๏ ทราบกิจกลรอย พุทธบาทชินสีห์
มีราชหทัยทวี กุศลมุ่งผดุงการ
๏ รดับเป็นพระมณฑป วรรัตนโนฬาร
เพียงวิชยันต์พิมาน อมรเทพปูนกัน
ข้อสังเกต คำที่พิมพ์ตัวเอนเป็นคำสมาสที่มีหลายพยางค์
จึงจัดเป็นคำยาก
บรรณานุกรม
ศรีสุดา จริยากุล และคณะ. ภาษาไทย ๖
การเขียนสำหรับครู. กรุงเทพฯ : ประชาชน, ๒๕๒๙.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น