การใช้โวหาร คือการพลิกแพลงภาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่ใช้อยู่เป็นปกติ
ก่อให้เกิดจินตภาพ มีรสประทับใจ ความรู้สึก และอารมณ์
ต่างกับการใช้ภาษาอย่างตรงไปตรงมา การใช้โวหารดังกล่าวนี้มีอยู่หลายลักษณะ
ลักษณะต่างๆเหล่านี้เรียกกันในวงการวาทศิลป์และการประพันธ์ว่า ภาพพจน์ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติใช้กันมานานแล้วเทียบกับคำ
figures
of speech ในภาษาอังกฤษ จะนำมาแสดงเพียง ๓ ลักษณะ ดังนี้
การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง
การเปรียบเทียบด้วยวิธีนี้
จะมีคำแสดงความหมายอย่างเดียวกับคำว่า เหมือน ปรากฏอยู่ด้วย เช่น เสมือน
ดุจ ประดุจ ดั่ง กล ปูน เพียง ราว โวหารลักษณะนี้เรียกว่า อุปมา นั้นเอง
ตัวอย่าง
เสร็จเสวยศวรรเยศอ้าง ไอศูรย์ สรวงฤๅ
เย็นพระยศปูนเดือน เด่นฟ้า
เกษมสุขส่องสมบูรณ์ บานทวีป
สว่างทุกข์ธเรศหล้า แหล่งล้วนสรรเสริญ
จาก ลิลิตตะเลงพ่าย พระนิพนธ์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
กวีเปรียบพระยศของสมเด็จของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่า
เสมือนดวงเดือนที่ลอยเด่นอยู่บนฟากฟ้า แสงเดือนเป็นแสงสีเหลืองนวล มองดูเย็นตาเย็นใจ
จึงเป็นที่พึ่งของประชานช ทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข
คุณแม่หนักหนาเพี้ยง พสุธา
คุณบิดรดุจอา- กาศกว้าง
คุณพี่พ่างศิขรา เมรุมาศ
คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร
จาก โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเดชาดิศร
โคลงบทนี้มีการเปรียบเทียบถึง
๔ แห่ง คือ เปรียบเทียบพระคุณของบุพการี คือ
มารดาและบิดากับความกว้างใหญ่ไพศาลของพื้นดินและท้องฟ้า
เปรียบพระคุณของพี่กับเขาพระสุเมรุ
และเปรียบพระคุณของอาจารย์กับพื้นน้ำอันกว้างใหญ่ ขอให้สังเกตคำ สู้
ในที่นี้ว่า ทำหน้าที่แสดงการเปรียบเทียบได้เช่นกัน
ไม้เรียงผกากุพ- ชกะสีอรุณแสง
ปานแก้มแฉล้มแดง ดรุณี ณ ยามอาย
จาก มัทนะพาธา พระราชนิพนธ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉันท์บทนี้เปรียบเทียบว่า
ดอกกุหลาบ (กุพชกะ) ซึ่งเป็นสีอรุโณทัย หรือ สีดวงอาทิตย์ขึ้น
เหมือนแก้มสีแดงเปล่งปลั่งของสาวรุ่งยามเอียงอาย
การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
การเปรียบเทียบเช่นนี้ไม่มีคำ
เหมือน หรือคำอื่นที่มีความหมายนัยเดียวกันปรากฏอยู่
แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าการกล่าวเปรียบเทียบ ทำให้ภาษาที่ใช้สั้นกระชับสื่อความหมายได้แจ่มแจ้ง
โวหารลักษณะนี้ผู้รู้หลานท่านนิยมเรียกว่า อุปลักษณ์
ตัวอย่าง
ณ ราตรี เพ็ญ ๑๕ ค่ำ
แห่งเดือนวิสาขปุณณมี กว่ายี่สิบห้าศตวรรษมาแล้ว ดวงประทีปแห่งโลก ได้ดับลง
รัศมีแห่งประทีปนั้นยังคงฉายอยู่ตราบเทาทุกวันนี้และยังจะเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไปอีกนานเท่านาน
วลี ดวงประทีปแห่งโลก
เป็นการเปรียบเทียบโดยปริยาย หมายถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระปัญญาคุณ ประดุจแสงสว่างส่องทางแก่ชาวโลก
พ่อตายคือฉัตรกั้ง หายหัก
แม่ดับดุจรถจักร จากด้วย
ลูกตายบ่วายรัก แรงร่ำ
เมียมิ่งตายวายม้วย มืดคลุ้มแดนไตร
จาก โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระเดชายาดิศร
ข้อความ ฉัตรกั้ง
หายหัก เป็นการเปรียบเทียบโดยปริยาย
หมายถึง ผู้ที่คุ้มครองให้มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยได้สูญสลาบไปแล้ว
พ่อเป็นดุจฉัตร และความตายของพ่อเป็นดุจฉัตรหัก
การสมมุติสิ่งต่างๆ
ให้มีกิริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์
วิธีนี้เดิมมีผู้เรียกกันว่า
บุคลาธิษฐาน แต่บุคลาธิษฐานนั้นเป็นศัพท์ทางพุทธศาสนา หมายถึง
ยกบุคคลขึ้นเป็นที่ตั้ง ใช้เป็นหลักในการอธิบาย คู่กับคำธรรมาธิษฐาน เช่น
ยกเรื่องของพญามารขึ้นมาเพื่ออธิบายเรื่องของกิเลสให้เข้าใจง่ายขึ้นจึงมีผู้รู้คิดศัพท์ใหม่ขึ้นว่า
บุคคลวัติ หรือ บุคคลสมมุติ
ตัวอย่าง
ธรรมชาติรอบข้างต่างสลดหมดความคะนองทุกสิ่งทุกอย่าง
จาก กามนิต
ภาคสวรรค์ ของ
เสถียรโกเศศและนาคะประทีป
สลดหมดความคะนอง โดยปกติเป็นความรู้สึกและสภาพของมนุษย์
คำฝรั่งมีอยู่ว่า “เงินพูดได้”
แต่ที่จริงมันพูดต่อเมื่อเจ้าของเป็นคนปากโป้ง แลถ้าเช่นนั้นมันจะพูดอะไรออกมาแต่ละคำ
ก็ล้วนแต่จะบาดหูคนทั้งนั้น ส่วนความจนแร้งแค้นนั้นก็พูดได้ แต่มันจะพูดว่ากระไรนั้นไม่มีใครอยากฟัง
จาก จดหมายจางวางหร่ำ (ฉบับที่ ๕) ของ น.ม.ส.
คำ พูด
ทุกคำข้างต้นนี้ โดยปกติเป็นกิริยาอาการของมนุษย์ แต่นำมาใช้แก่ เงิน
ซึ่งไม่ใช่มนุษย์
น้ำเซาะหินรินรินหลากไหล ไม่หลับเลยชั่วฟ้าดินหาย
สรรพสัตว์พอฟื้นก็วอดวาย สลายซากเป็นกากผลธุลี
จาก ลำนำภูกระดึง ของ
อังคาร กัลยาณพงศ์
หลับ โดยปกติเป็นกิริยาอาการของมนุษย์ แต่ในที่นี้นำมาใช้แก่ สายน้ำ
ซึ่งไม่ใช่มนุษย์
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ .
กรุงเทพฯ : สกสค,
๒๕๕๕.
Play for Free at Merits Casino - BitcoinCasino.com
ตอบลบMerit Casino is a new deccasino online gambling site from Merit. It's powered by septcasino the Bitcoin หาเงินออนไลน์ Curacao gambling site.