คำเชื่อม
การใช้ภาษาอธิบายหรือเล่าเรื่องราวใดๆ
ข้อความนั้นๆ ต้องต่อเนื่องกัน วิธีการทำให้ข้อความต่อเนื่องกัน วิธีหนึ่งคือ
การใช้คำเชื่อมเพื่อเชื่อมคำ ประโยค หรือข้อความเข้าด้วยกัน การเชื่อมหน่วยทางภาษามีทั้งการเชื่อมหน่วยที่เสมอภาคกัน
เช่นเชื่อมคำกับคำ เชื่อมประโยคกับประโยค หรือเชื่อมข้อความกับข้อความ
และการเชื่อมหน่วยที่ไม่เสมอภาคกัน เช่น เชื่อมคำกับคำ เชื่อมประโยคกับประโยค
หรือเชื่อมข้อความกับข้อความ และการเชื่อมที่ไม่เสมอภาคกัน เช่น
เชื่อมอนุประโยคเข้ากับมุขยประโยค การเชื่อมนั้นอาจเพื่อแสดงการรวมกัน
แสดงความแย้งกัน แสดงเหตุผล หรือแสดงความหมายอื่นก็ได้
คำที่พิมพ์ด้วยตัวหนาต่อไปนี้เป็นคำเชื่อมที่เชื่อมคำกับคำ
แสดงความรวมกัน เช่น พี่กับน้อง ยายกับตา อ่านและเขียน
แสดงการเลือก เช่น หมูหรือเนื้อ ขนมหรือผลไม้
คำที่พิมพ์ตัวหนาต่อไปนี้
เป็นคำเชื่อมที่เชื่อมประโยคกับประโยค
แสดงความรวมกัน เช่น
เขาชอบอ่านหนังสือและชอบฟังเพลง
แสดงความแย้งกัน เช่น
พี่ขยันทำขนมแต่น้องขยันจัดบ้าน
แสดงการเลือก เช่น
คุณจะกินอาหารไทยหรือจะลองอาหารจีน
คำที่พิมพ์ตัวหนาต่อไปนี้
เป็นคำเชื่อมที่เชื่อมอนุประโยคเข้ากับมุขยประโยค
ครูที่มาใหม่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนนี้
(ครูเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนนี้ เป็น
มุขยประโยค
ที่มาใหม่
เป็น อนุประโยค)
เขาพูดไม่ชัด ฉันจึงฟังไม่เข้าใจ (เขาพูดไม่ชัด เป็น มุขยประโยค
ฉันจึงฟังไม่เข้าใจ
เป็น อนุประโยค)
ที่เขาบอกมานั้น
เป็น อนุประโยค)
เขาทำงานหนักเพื่อให้ลูกๆ สบาย (เขาทำงานหนัก เป็น มุขยประโยค
เพื่อให้ลูกๆสบาย
เป็น อนุประโยค)
พยางค์หนัก – พยางค์เบา
พยางค์แต่ละพยางค์ในภาษาไทยออกเสียงหนักหรือเบาไม่เท่ากันทุกพยางค์
พยางค์ที่ออกสียงแบบเน้นหนัก เรียกว่า พยางค์หนัก ส่วนพยางค์ที่ออกเสียงแบบไม่เน้นเสียง เรียกว่า
พยางค์เบา การออกเสียงพยางค์หนักและพยางค์เบาให้ถูกต้องจะช่วยให้ผู้พูดหรือผู้อ่านออกเสียงได้อย่างเป็นธรรมชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออ่านจากหนังสือหรืออ่านข้อความ จะไม่ทำให้อ่านแบบที่ เรียกว่า
อ่านเป็นคำๆ
ในที่นี่จะให้หลักสังเกตว่าพยางค์ใดเป็นพยางค์เบา
ในตัวอย่างต่อไปนี้ พยางค์จริงจะพิมพ์ด้วยตัวเอน ดังนี้
๑.
คำเชื่อมต่างๆ
ออกเสียงเป็นพยางค์เบา เช่น
ประหยัดและมัธยัสถ์
พี่กับน้อง
อาบน้ำเสร็จก็เข้านอน
รวยหรือจนก็เป็นคนเหมือนกัน
คนที่มีความโลภน้อยก็เบียดเบียนผู้อื่นน้อย
อย่างไรก็ตาม
หากผู้พูดต้องการเน้น ก็อาจออกเสียงคำเชื่อมเป็นพยางค์หนักก็ได้ เช่น
เขาอยู่ที่นี่ หรือที่บ้านกันแน่
ของที่วางอยู่เธอหยิบไปใช้ได้ แต่ห้ามเอาไปเป็นของส่วนตัวเด็ดขาด
๒.
คำช่วยต่างๆที่ปรากฏหน้าคำกริยา
มักออกเสียงเป็นพยางค์เบา เช่น
จะใช้จ่ายอะไรก็ต้องประหยัด
๓.
คำช่วยต่างๆที่ปรากฏหลังคำกริยา
ออกเสียงเป็นพยางค์เบา เช่น
ขนมปังเก่าแล้ว ก็ทิ้งเสียเถอะ
เขาหลับไปนานแล้ว
แม่ตื่นมาแต่เช้า มาทำกับข้าวให้ทุกวัน
๔.
คำลงท้ายต่างๆออกเสียงเป็นพยางค์เบา
เช่น
กินเสียสิเดี่ยวเย็นแล้วจะไม่อร่อย
อาทิตย์นี้ไปว่ายน้ำด้วยกันนะ
รีบกลับบ้านเถอะ ฝนทำท่าจะตกแล้ว
๕.
คำ
๒ พยางค์ พยางค์แรกซึ่งออกเป็นสระเสียงสั้น ส่วนใหญ่เป็นพยางค์เบา เช่น
จริต สนาม ถนัด ฤทัย ธุระ วิชา มะนาว กระเป๋า ประจำ
๖.
คำ
๓ พยางค์ พยางค์ที่ออกเสียงเบา มักเป็นพยางค์ที่ ๑ หรือ พยางค์ที่ ๒ หรือพยางค์ที่
๑ กับ ๒ เช่น
พยางค์ที่
๑ เป็นพยางค์เบา
อนาคต ประชาชน ธนาคาร สวัสดี พยาบาล สมาชิก พิราลัย
พยางค์ที่
๒ เป็นพยางค์เบา
บริหาร ธรณินทร์ กรณี
มัธยม ตุ๊กตา ผลไม้
เทวรูป มิตรภาพ ธุรกิจ
มลพิษ
พยางค์ที่ ๑ กับ
พยางค์ที่ ๒ เป็นพยางค์เบา
กิริยา สรณะ
สรตะ สมณะ สุริยะ
๗.
คำ
๔ พยางค์ พยางค์ที่ ๑ และ ๓ มักออกเสียงเป็นพยางค์เบา เช่น
ทะมัดทะแมง สนิทสนม ระวังระไว ขยันขย่อน กะปริดกะปรอย สถานการณ์ ผลิตผล เกษตรกร
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. วิวิธภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ . พิมพ์ครั้งที่
๓. กรุงเทพฯ :
สกสค, ๒๕๕๔.
ดีมาก ในที่สุดลูกของฉันก็เสร็จการบ้านเสียที
ตอบลบ