กลอนสุภาพ
แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม ก็จงยอมเป็นเพียงลดาขาว
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา
แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์ ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษ
แม้มิได้เป็นน้ำแม่คงคา จงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น
แม้มิได้เป็นมหาหิมาลัย จงพอใจเป็นจอมปลวกที่แลเห็น
แม้มิได้เป็นจันทร์วันเพ็ญ ก็จงเป็นวันแรมที่แจ่มจ่าง
แม้มิได้เป็นต้นสนระหง จงเป็นพงอ้อสะบัดไม่ขัดขวาง
แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง จงเป็นนางที่มิใช่ไร้ความดี
อันจะเป็นสิ่งใดไม่ประหลาด กำเนิดชาติดีทรามตามวิถี
ถือสันโดษบำเพ็ญให้เด่นดี ในสิ่งที่เราเป็นเช่นนั้นเทอญ
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ :
ที่ระลึกครบรอบ ๖๐ ปี
๑.
บทและบาท
กลอน ๑ บท มี ๒ บรรทัด
แต่ละบรรทัดเรียกกว่า บาท หรือ คำกลอน บาทที่
๑ ของกลอน เรียกว่า บาทเอก ส่วนบาทที่สอง เรียกว่า บาทโท
กลอนบาทหนึ่งมี ๒ วรรค กลอนบทหนึ่งจึงมี ๔ วรรค เช่น
แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม ก็จงยอมเป็นเพียงลดาขาว (บาทเอก)
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา (บาทโท)
๒. จำนวนวรรค
กลอน ๑ บท มี ๔ วรรค
แต่ละวรรคมีชื่อเรียก ดังนี้
วรรคที่ ๑ เรียกว่า วรรคสดับ วรรคที่ ๒ เรียกว่า วรรครอง
วรรคที่ ๓ เรียกว่า วรรครอง วรรคที่
๔ เรียกว่า วรรคส่ง
เช่น
แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์ (วรรสดับ) ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา (วรรครับ)
แม้มิได้เป็นน้ำแม่คงคา (วรรครอง) จงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น (วรรคส่ง)
แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์ (วรรสดับ) ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา (วรรครับ)
แม้มิได้เป็นน้ำแม่คงคา (วรรครอง) จงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น (วรรคส่ง)
๓. สัมผัส
คำว่า
สัมผัสในคำประพันธ์ หมายถึง ๒ คำ หรือ ๒
พยางค์ ที่มีเสียงสระเดียวกัน
ตา – หรรษา หิมาลัย – พอใจ วิถี – เด่นดี – ที่ สัมผัสแบบนี้เรียกว่า สัมผัสสระ
ในคำประพันธ์มีสัมผัสอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า
สัมผัสพยัญชนะ หมายถึง คำ ๒ คำ
หรือหลายคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงเดียวกัน
เป็นลักษณะที่กวีใช้เพิ่มเพื่อความไพเราะให้แก่บทกลอน ไม่ใช่สัมผัสบังคับ
สัมผัสพยัญชนะอาจปรากฏในวรรณคดีเดียวกันหรือต่างวรรคกันก็ได้ เช่น ลางลิงลิงลอดเลี้ยวลางลิงแลลูกลิงลงชิงลูกไม้
สัมผัสในกลอนมีทั้งสัมผัสบังคับและไม่บังคับ
สัมผัสบังคับ มี ๒ ประเภท คือ สัมผัสนอก และ
สัมผัสระหว่างบท
สัมผัสนอก คือ
สัมผัสสระของคำที่อยู่ต่างวรรคกัน กลอยบทหนึ่งมีสัมผัสอยู่ ๓ แห่ง คือ
แห่งที่ ๑
คำสุดท้ายของวรรคสดับ (วรรคที่ ๑) สัมผัสของคำท้ายของช่วงที่ ๑ หรือ ๒ ในวรรครับ (วรรคที่
๒)
แห่งที่ ๒
คำสุดท้ายของวรรครับ (วรรคที่ ๒) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง (วรรคที่ ๓) แล้วส่งต่อไปสัมผัสแห่งที่ ๓
แห่งที่ ๓
รับสัมผัสมาจากคำสุดท้ายของวรรครอง (วรรคที่ ๓) ไปยังคำสุดท้ายของช่วงที่ ๑ หรือ ช่วงที่
๒ ในวรรคส่ง (วรรคที่ ๔)
ผังกลอนสุภาพ
สัมผัสระหว่างบท คือสัมผัสสระที่ส่งต่อจากคำสุดท้ายของบทไปยังคำสุดท้ายในวรรครับ
(วรรคที่ ๒) ของบทถัดไป ซึ่งเป็นสัมผัสที่ทำให้กลอนเชื่อมต่อกันโดยตลอด
ไม่ว่าจะแต่งกลอนกี่บท
สัมผัสไม่บังคับ คือ สัมผัสสระหรือสัมผัสพยัญชนะที่อยู่ในวรรค
เพื่อเพิ่มความไพเราะให้แก่บทกลอน สัมผัสที่อยู่ในวรรคมักเรียกว่า
สัมผัสในกลอนแต่ละวรรค ถ้าคำที่เชื่อมระหว่างช่วงเป็นคำที่สัมผัสกัน
จะทำให้กลอนไพเราะเช่นกัน
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ.
วิวิธภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๒ . พิมพ์ครั้งที่ ๒ .
กรุงเทพฯ :
สกสค, ๒๕๕๔.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น