วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

สำนวนต่างประเทศ

สำนวนจีน
สำนวนจีนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นคำคม คือคำพูดที่หลักแหลม มีถ้อยคำสละสลวย น่าฟัง และมีข้อคิดแฝงอยู่จัดเป็นภาษิตสอนใจ บางสำนวนใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบซึ่งแสดงถึงจารีต ประเพณี และวัฒนธรรมของคนจีนสมัยก่อน ซึ่งคล้ายคลึงกับแนวคิดของคนไทย สำนวนจีน มีดังนี้
๑.    สำนวนจีนที่กลายเป็นสำนวนไทย  มีสำนวนไทยหลายสำนวนที่มีเค้ามาจากสำนวนจีน ต่อมานิยมใช้กันแพร่หลาย จนกลายเป็นสำนวนไทยโดยสิ้นเชิง ดังนี้
กิ่งทองใบหยก  เป็นสำนวนเปรียบเทียบชายกับหญิงที่เหมาะสมจะเป็นคู่รักกัน หรืสามีภรรยากัน สำนวนนี้ขุนวิจิตรมาตราผู้รวบรวมสำนวนไทยสันนิษฐานว่ามาจากสำนวนจีน
กระเป๋าอู๋  หมายถึง คนที่เป็นเศรษฐี ร่ำรวยมาก อู๋ เป็นภาษาจีน แปลว่า มีกระเป๋าอู๋ แปลว่า ในกระเป๋ามีเงินมาก
บอกยี่ห้อ  หมายถึง แสดงท่าทีหรืคำพูดให้รู้ว่า มีลักษณะนิสัยอย่างไร ยี่ห้อ เป็นภาจีน แปลว่า เครื่องหมาย ที่มาของสำนวนนี้มาจากสินค้าของจีนที่มียี่ห้อติดหรือประทับตรา
แบไต๋  หมายถึง เปิกเผยเรื่อง หรือแสดงท่าทีเป็นความในใจออกมาให้เห็น
พะกงสี  หมายถึง  คิดค่าใช้จ่าย หรือะไรๆที่ต้องเสียงไปโดยไปเอากับส่วนกลาง กงสี เป็นภาษาจีน แปลว่า บุคคลที่รวมกันเข้าทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ค้าขาย มีความหมายตรงกับคำว่า บริษัท
สามเพลงตกม้าตาย หรือสองเพลงตกม้าตาย  หมายถึงแพ้เร็ว  แพ้ง่าย แพ้ในเวลาไม่นาน เป็นสำนวนเปรียบเทียบใช้เกี่ยวกับคำพูดหรือการต่อสู้แข่งขัน ที่มาของสำนวนนี้มาจากนิยายพงศาวดารจีนรุ่นเก่า เช่น สามก๊ก  ไซ่ฮั่น  ส้วยถัง ฯลฯ ซึ่งเรียกกระบวนการรบว่า “เพลง”      
 บรรณานุกรม
ศรีสุดา   จริยากุล และคณะ. ภาษาไทย ๖ การเขียนสำหรับครู. กรุงเทพฯ : ประชาชน, ๒๕๒๙.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น